Copyright 2024 - Custom text here

เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (part1 ความหมายและประเภท)

 

เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. เบาหวานที่เกิดก่อนการตั้งครรภ์ (Pre-gestational diabetes) ผู้ป่วยเป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและต้องการตั้งครรภ์ ควรได้รับการดูแลและควบคุมระดับน้ำตาลให้ปกติก่อนการตั้งครรภ์ โดยควรคุมให้ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) น้อยกว่า 6.5% อย่างน้อย3 เดือน รวมถึงประเมินโรคของหลอดเลือดต่างๆ เช่น ตรวจตาและการทำงานของไต ก่อนตั้งครรภ์

2. เบาหวานที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ (Gestational diabetes) เป็นเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งควรได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาระดับน้ำตาลให้ปกติ เพื่อลดผลกระทบต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ดังนั้น หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน ควรคัดกรองเบาหวานโดยการตรวจวัดความทนต่อกลูโคส ดังนี้

- หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง (เช่น อ้วน อายุมาก เคยเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน) ควรคัดกรองเบาหวานทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ หากปกติ ให้ตรวจคัดกรองอีกครั้งเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์

- หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงปานกลาง คัดกรองเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์

- หญิงที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น อายุ < 25 ปี น้ำหนักตัวปกติก่อนตั้งครรภ์ ไม่เคยเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ และไม่มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน อาจไม่ต้องตรวจคัดกรองเบาหวาน

(part2 แนวทางการคัดกรองเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์)

     

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

 เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module


สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย 
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN 


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

โครงการ For Your Sweetheart ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทุกคนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของโรคเบาหวาน และโรคหัวใจโดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และครอบครัวทราบถึงความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด พร้อมทั้งให้ความรู้กับบุคคลใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีรวมไปถึงการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้

 

 



 


 
 
 
 
 

                       

   

 

1457975
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1946
6744
20145
41127
150690
1148416
1457975

Your IP: 172.70.131.44
2024-04-24 06:00