สำหรับประเทศไทย การประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานเพื่อการทำนายโรคนี้ สามารถใช้ข้อมูลการศึกษา cohort study ซึ่งศึกษาปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่สามารถประเมินได้ง่ายด้วยแบบสอบถามและตรวจร่างกาย
ดังแบบสอบถามด้านล่าง แล้วนำข้อมูลมาคำนวนเป็นคะแนน (risk score) สามารถใช้ทำนายความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต (ใน 12 ปีข้างหน้า) ได้แม่นยำพอสมควรในไทย การประเมินโดยวิธีนี้ สามารถนำมาใช้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อการคัดกรองโรคเบาหวานในชุมชนซึ่งมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ
แบบการประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2
อายุของคุณ
เพศของคุณ
ดัชนีมวลกายของคุณ
เส้นรอบเอวของคุณ
เป็นโรคความดันโลหิตสูง
ประวัติโรคเบาหวานในญาติสายตรง (พ่อ แม่ หรือ พี่น้อง)
ผลรวมคะแนน : {{ score }}
คะแนนความเสี่ยงโอกาสการเกิดเบาหวานในอีก 12 ปี ข้างหน้าของท่านคือ น้อยกว่าร้อยละ 5
ระดับความเสี่ยง "น้อย" โอกาสเกิดเบาหวาน 1/20
ข้อแนะนำ
- ออกกำลังการสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ตรวจความดันโลหิต
- ควรประเมินความเสี่ยงซ้ำทุก 3 ปี
คะแนนความเสี่ยงโอกาสการเกิดเบาหวานในอีก 12 ปี ข้างหน้าของท่านคือ ร้อยละ 5-10
ระดับความเสี่ยง "ปานกลาง" โอกาสเกิดเบาหวาน 1/12
ข้อแนะนำ
- ออกกำลังการสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ตรวจความดันโลหิต
- ควรประเมินความเสี่ยงซ้ำทุก 1 - 3 ปี
คะแนนความเสี่ยงโอกาสการเกิดเบาหวานในอีก 12 ปี ข้างหน้าของท่านคือ ร้อยละ 11-20
ระดับความเสี่ยง "สูง" โอกาสเกิดเบาหวาน 1/7
ข้อแนะนำ
- ควบคุมอาหารและออกกำลังการสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ตรวจความดันโลหิต
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
- ควรประเมินความเสี่ยงซ้ำทุก 1 - 3 ปี
คะแนนความเสี่ยงโอกาสการเกิดเบาหวานในอีก 12 ปี ข้างหน้าของท่านคือ มากกว่าร้อยละ 20
ระดับความเสี่ยง "สูงมาก" โอกาสเกิดเบาหวาน 1/3 - 1/4
ข้อแนะนำ
- ควบคุมอาหารและออกกำลังการสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ตรวจความดันโลหิต
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
- ควรประเมินความเสี่ยงซ้ำทุก 1 ปี
การคัดกรองเบาหวานควรทำใน
1. ผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป
2. ผู้ที่อ้วน* และมี พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคเบาหวาน
3. เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือกำลังรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตสูง
4. มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์ >= 250 มก./ดล. และ/หรือ เอช ดี แอล คอเลสเตอรอล (<35 มก./ดล.)
5. มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
6. เคยได้รับการตรวจพบว่าเป็น IGT หรือ IFG
7. มีโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease)
8. มีกลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข (polycystic ovarian syncrome)
* อ้วน หมายถึง BMI >= 25 กก./ม. และ/หรือ รอบเอวเท่ากับหรือมากกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย หรือ เท่ากับหรือมากกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง หรือมากกว่าส่วนสูงหารด้วย 2 ทั้งสองเพศ
หากมีอาการดังต่อไปนี้ 3 อาการขึ้นไป สงสัยอาจจะเป็นเบาหวาน
- หิวน้ำบ่อย ดื่มน้ำมาก
- ปัสสาวะบ่อยและมาก
- กินปกติแต่น้ำหนักลด
- อ่อนเพลียผิดสังเกตุ
แนะนำ ปรึกษาแพทย์ตรวจเลือดเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน