Copyright 2024 - Custom text here

รู้จักโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานคืออะไร : โรคเบาหวานคือโรคที่เซลร่างกายมีความผิดปรกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน  เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับผิดปรกติ  

แล้วแค่ไหนจึงจะเรียกว่าผิดปรกติ  ใครเป็นผู้กำหนด : ในปัจจุบันหลายประเทศใช้เกณฑ์ระดับน้ำตาลที่ >126 มก./ดล.  โดยมีข้อแม้ว่าเป็นค่าของน้ำตาลในน้ำเลือดหลังจากอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชม. แล้ว  แต่ถ้าบังเอิญท่านไม่ได้อดอาหารมาก่อน  แต่ต้องการตรวจเลยโดยไม่อยากกลับมาใหม่ในวันรุ่งนี้  ท่านสามารถเจาะเลือดได้เลยโดยใช้ค่า 200มก./ดล.เป็นเกณฑ์

ใครเป็นผู้กำหนดตัวเลขนี้ : คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐประชุม  กันพิจารณางานวิจัยที่มีทั้งหมดก่อนปีค.ศ.1999 เพื่อหาว่าโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นที่ระดับเท่าใด  ผลพบโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเร็วที่สุดคือจอประสาทตาเสื่อม  เกิดขึ้นที่ระดับน้ำตาลในเลือด 126 มก./ดล  ดังนั้นความสำคัญของตัวเลขนี้ก็คือ  ทุกคนควรจะเริ่มตระหนักว่า  ถ้าเรามีระดับน้ำตาลสูงกว่า 126 เรามีโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวของเบาหวานแล้ว  แม้ว่าที่น้ำตาลระดับนี้จะไม่ทำให้เราเกิดอาการใดๆ เลย  ดังนั้นตัวเลขนี้จึงมีความหมายในการสร้างความตระหนักเพื่อให้เรามีมาตราการใดๆ ก็ตาม  ที่จะทำให้ระดับน้ำตาลของเราต่ำกว่า 126  แต่วิธีการจะทำให้ระดับน้ำตาลของเราต่ำลงนั้น จะเป็นวิธีที่ใดจะใช้วิธีกินยาหรือไม่  ถ้าใช้ยาจะใช้อย่างไร  คงจะต้องมาพิจารณากันอีกที  เพราะการควบคุมโรคเบาหวานนั้นมีหลายวิธี  ในอนาคตเมื่อมีงานวิจัยใหม่ๆ หรือมีหลักฐานอื่นๆ มาลบล้างตัวเลข 126 นี้ลง  เกณฑ์ของการวินิจฉัยเบาหวานก็อาจจะเปลี่ยนไปเพื่อให้ประชาชนมีโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานน้อยที่สุด  เพราะที่ให้ระดับน้ำตาลสูงกว่านี้รวมกับระยะเวลาที่ผ่านไป  โรคแทรกซ้อนอื่นๆของเบาหวานเช่นหลอดเลือดแดงของหัวใจ  หลอดเลือดแดงของสมอง  โรคความดันโลหิตสูง  ไตเสื่อมและไขมันสูงก็จะตามมาอีกชุดใหญ่  อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลกยังคงใช้เกณฑ์ระดับน้ำตาลที่ 200 มก./ดล.

แล้วประเทศไทยใช้ตัวเลขใด : กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยและสำนักงานประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชุมกันใช้ตัวเลขระดับน้ำตาลที่ 126 มก./ดล. เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา

แล้วทำไมร่างกายจึงใช้น้ำตาลไม่ได้ : เราใช้น้ำตาลที่กินจากอาหารเพื่อทำให้เกิดพลังงาน  น้ำตาลที่กล่าวถึงนี้คือกลูโคส  ไม่ว่าเราจะอะไรเป็นอาหาร  กินแป้ง กินเนื้อสัตว์ กินไขมัน  ผลไม้ หรือผัก ในที่สุดมันจะต้องถูกย่อยให้เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดคือน้ำตาลกลูโคสก่อนเสมอ  แล้วกลูโคสตัวนี้จึงเข้าสู่ขั้นตอนแรกของขบวนการที่ทำให้เกิดการเผาผลาญที่เรียกว่า glucolysis มีทั้งหมด 10 ขั้นตอนย่อย อนึ่ง ขบวนนี้ต้องเกิดขึ้นภายในเซล  การนำกลูโคสเข้าเซล และและขั้นตอนที่ glucolysis ขั้นที่ fructose 6 phosphate เปลี่ยนเป็น fructose 1,6 phosphate  ขั้นตอนนั้นต้องใช้อินสุลิน

ภาพจาก slideshare.net

นอกจากนี้ ขบวนการต่อไปคือสาร pyruvate เข้าสู่ kreb cycle เพื่อให้ได้พลังงาน ATPยังมีอีกเอ็นไซสำคัญ pyruvatedehydroginase kinase ที่ต้องใช้อินสุลินกระตุ้นอีกด้วย

เมื่อกลูโคสในเลือดเข้าเซลก็ไม่ได้ ถ้าเข้าไปก็ไม่สามารถผ่านเข้าสู่ขบวนการ glucolysis กลายเป็น pyruvate ไม่ได้  แต่ถ้าแม้นบางส่วนจะสามารถผ่านเข้าไปเป็น pyruvate ได้ในกรณีเบาหวานชนิดที่ 2 อินสุลินมีอยู่แต่ออกฤทธิ์ได้ไม่ดี  เอนไซม์ที่ต้องใช้เปลี่ยน pyruvate เป็น acetyl CoA ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพราะต้องใช้อินสุลินในขั้นตอนนี้อีกเช่นกัน

แล้วทำไมร่างกายเราจึงขาดอินสุลิน : การขาดอินสุลินมีอยู่ 2 แบบหลักๆ

  1. ร่ายกายขาดฮอร์โมนอินสุลินจริงๆหมายถึงอินสุลินเท่ากับศูนย์  ไม่มีเลยทั้งนี้เพราะโรงงานที่ผลิตคือตับอ่อนผลิตอินสุลินไม่ได้ ส่วนจะผลิตไม่ได้เพราะอะไรยังสามารถแยกแยะต่อไปได้อีก

1.1 ถ้าผลิตไม่ได้เพราะเซลเบต้าที่ผลิตถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของตัวเอง  องค์การอนามัยโลก(WHO classification) ให้เป็น เบาหวานชนิดที่ 1 เขียนสั้นๆ ว่า DM1

1.2 ถ้าผลิตไม่ได้เพราะเซลเบต้าถูกทำลายด้วยสาเหตุอื่นเช่น มะเร็ง  เหล้า เบียร แอลกอฮอลล์แร่เหล็ก หรืออะไรอย่างอื่นไปตกตะกอนในตับอ่อน  หรือตับอ่อนถูกตัดเช่นเกิดอุบัติเหตุ WHO ให้เป็นเบาหวานอื่นๆ (other DM)

  1. ร่างกายไม่ได้ขาดอินสุลินตับอ่อนสามารถผลิตอินสุลินได้ดี หรืออาจจะผลิตได้มากกว่าปรกติด้วยซ้ำ แต่อินสุลินไม่สามารถนำน้ำตาลเข้าเซลได้  อย่างนี้พูดได้ว่ามีแต่ก็ใช้ไม่ได้  เสมือนหนึ่งว่าขาด กลไกแบบนี้WHO จัดให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เขียนสั้นๆ ว่า DM2

มาดูภาพประกอบง่ายๆ จาก Diabetes.UK กัน  

ถ้าเซลรางกายของเราเปรียบเสมือนบ้าน   และน้ำตาลกลูโคสเปรียบเสมือนคนที่ต้องการเข้าบ้าน  และอินสุลินเปรียบเสมือนกุญแจ  คนไม่สามารถเข้าบ้านไม่ได้อาจเกิดจาก

1.ไม่มีกุญแจ

 

2.มีกุญแจ แต่กุญแจไขไม่ออก

เมื่อนักวิทยาศาสตร์ศึกษาลึกลงไปจนเห็นระดับเซล  เขาพบว่าร่างกายมีประตูที่เป็นทางเข้าของน้ำตาลจริงๆ ด้วย  เราเรียกประตูนั้นว่าว่า Insulin receptor ดังนั้นเมื่อกลไกการเกิดโรคเบาหวานเกิดได้หลายกลไก  การรักษาจึงแตกต่างกันไปตามสาเหตุด้วย  แต่อย่าลืมว่าธรรมชาติเป็นสิ่งมหัศจรรย์  ในบางคนหรือแม้แต่ในคนเดียวกันแต่ในช่วงเวลาต่างกัน  ก็สามารถจะเกิดโรคเบาหวานได้จากกลไกที่มากกว่า 1 อย่าง

อาการของโรคเบาหวาน

อาการของโรคเบาหวานที่พบบ่อย: ปัสสาวะบ่อย  กระหายน้ำมาก  หิวมากกว่าปรกติ น้ำหนักลด  อ่อนเพลีย สมาธิไม่มี  ชาปลายมือปลายเท้า ตามัว  ป่วยบ่อย ติดเชื้อบ่อย คลื่นไส้ เวียนหัว หงุดหงิด  ขบคิดปัญหาง่ายๆ ไม่ดี  แผลหายช้า  คันผิวหนัง คันช่องคลอด  อาการที่พบบ่อยนี้จะเริ่มสังเกตเห็นได้เมื่อระดับน้ำตาลสูงกว่า 200 มก./ดล. ทั้งนี้เพราะไตสามารถเก็บกักกลูโคสได้มากทีี่สุดประมาณ 160-180 มก./ดล. ที่ระดับน้ำตาลสูงกว่านี้กลูโคสเป็นสารที่ดูดน้ำเอาไว้  จึงพาเอาน้ำและเกลือแร่อย่างอื่นเช่นโซเดียม  ขับออกมาเป็นปัสสาวะจำนวนที่มากกว่าปรกติ  ผู้ป่วยจะสังเกตได้ง่ายคือแม้ไม่รับประทานน้ำในขณะหลับ  ก็ยังต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ  ส่วนอาการผิวแห้ง คัน กระหายน้ำนั้นเป็นผลพวงของปัสสาวะที่มากนั่นเอง  ส่วนอาการทางอารมณ์และสมอง เกิดจากความหนืดของเลือดที่เพิ่มขึ้น  ซึ่งสมองสามารถสังเกตได้ค่อนข้างไวนั่นเอง

ดังนั้นในคนที่ระดับดับน้ำตาลสูงกว่าเกณฑ์ 126 มก./ดล.จึงไม่มีอาการใดๆ และโดยบังเอิญในการตรวจร่างกายประจำปี

 

เรียบเรียงโดย พญ.ธนพร รัตนสุวรรณ

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล</span >


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module



สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

 

 
 

 



 







 
 

4246190
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
6493
8332
22443
40150
22443
3949540
4246190

Your IP: 172.69.7.160
2024-12-03 16:52