คําขวัญวันเบาหวานโลกในปี พ.ศ. 2567 “สุขกาย สุขใจ สังคมสดใส ใส่ใจเบาหวาน” เน้นให้เห็นถึงความสําคัญของโรคเบาหวานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ผู้เป็นเบาหวานจึงต้องการการดูแลเอาใจใส่จากแพทย์ และบุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการควบคุมโรคเบาหวาน โรคแทรกซ้อน และ โรคร่วมอื่นอีกมากมายรวมทั้งโรคทางใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเครียด การปรับตัว โรคซึมเศร้า ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้เป็นเบาหวานรวมทั้งครอบครัวหรือผู้ดูแล
บทความในวารสารฉบับแรกของปี 2568 นี้ มีเรื่องหนึ่งกล่าวถึงการรักษาแบบองค์รวม นิพนธ์โดย ศ.นพ.ชัชลิต รัตรสาร โดยหลักการรักษาเบาหวานแบบองค์รวม แบ่งเป็น
1. การประเมินทางคลินิค
- อาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน ยาที่รักษา ยาสมุนไพร พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกอฮอร์ การออกกำลังกาย การนอน ประวัติการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ประวัติเบาหวานในครอบครัว เป็นต้น การตรวจร่างกาย และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ plasma glucose, a1c, lipid, creatinine, urine albumin creatinine ratio, ALT
- โรคร่วม เช่น ไขมันเกาะตับ หยุดหายใจขณะหลับ กระดูกพรุน ซึมเศร้า มะเร็ง
2. ตั้งเป้าหมายการรักษา เพื่อลดการเกิดโรคแทรกซ้อน
3. วางแผนการรักษา โดยยึดผู้เป็นเบาหวานเป็นศูนย์กลาง เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
4. ตรวจติดตาม ความถี่การตรวจติดตามขึ้นกับความรุนแรงของเบาหวานและโรคแทรกซ้อน


เพื่อให้การพัฒนารูปแบบการบริการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบในบริบทของประเทศไทย
และการดําเนินงานวิจัยดําเนินงานไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
สื่อต่างๆ / คู่มือ / นวัตกรรม
เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี
Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN
สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module
สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
T1DDAR CN
ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

