Copyright 2025 - Custom text here

"เบาหวานลงไต" ปฏิบัติตัวอย่างไร

 

เบาหวานส่งผลกระทบต่อทุกอวัยวะของร่างกายคนเรา ไตก็เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่หลีกหนีเบาหวานไม่พ้น 

        ทราบหรือไม่ว่า 1 ใน 3 ของผู้เป็นเบาหวาน มีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนของโรคไตเรื้อรังร่วมด้วย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เบาหวานลงไต” พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่คุมเบาหวานได้ไม่ดี มีภาวะความดันโลหิตสูงต่อเนื่อง อ้วน สูบบุหรี่ มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตา หรือมีญาติใกล้ชิดในครอบครัวป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง  เมื่อเบาหวานลงไต จะทวีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนที่เป็นเบาหวานแต่ไม่ลงไต และตามมาด้วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือระยะที่ต้องทำการฟอกไตเพื่อช่วยยืดอายุ ไม่เพียงต้องเสียเวลาในแต่ละวันในการฟอก ยังต้องจำกัดการใช้ชีวิต ทำให้อายุสั้นลง และที่สำคัญต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง นอกจากนี้ผู้เป็นเบาหวานลงไตจะติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย ส่งผลร้ายซ้ำเติมเร่งให้ไตยิ่งทรุดตัวลงเร็ว และหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิตได้

 

ทางการแพทย์แบ่ง “เบาหวานลงไต” เป็น 5 ระยะ แต่เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ขอแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะต้น เป็นระยะที่เริ่มมีไข่ขาว อัลบูมินรั่วในปัสสาวะแบบไมโคร (microalbuminuria หรือ 30-300 มก./วัน) ซึ่งจะตรวจไม่พบด้วยแถบตรวจโปรตีนในปัสสาวะแบบจุ่มมาตรฐาน ระยะกลาง เป็นระยะที่มีไข่ขาวรั่วระดับแมโคร (macroalbuminuria หรือ มากกว่า 300 มก./วัน) สามารถตรวจพบไข่ขาวรั่วในปัสสาวะได้จากแถบตรวจปัสสาวะแบบจุ่ม มีความดันโลหิตสูง และเริ่มมีค่าไตทรุดลง และระยะท้าย เป็นระยะไตวายต้องการการฟอก มีวิธีสังเกตว่าตนเองเริ่มเป็นเบาหวานลงไต 6 ประการ ดังนี้

         1) ตรวจปัสสาวะพบมีไข่ขาวรั่วในปัสสาวะหรือตรวจพบโปรตีนจากแถบตรวจปัสสาวะแบบจุ่ม (อาจแสดงในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะเป็นลำดับว่า พบเล็กน้อย (trace) หรือ พบ +1, +2, เป็นต้น

         2) ปัสสาวะเป็นฟองมากผิดสังเกต

         3) พบความดันโลหิตสูง หรือคุมความดันโลหิตด้วยยายากขึ้น

         4) มีอาการบวมที่เท้าหรือที่ข้อเท้า ใบหน้า หรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากอาการบวมนั้น

         5) ต้องการยาเบาหวานหรือยาฉีดอินซูลินลดลง หรือสามารถหยุดยาได้เลย หรือมีอาการจากภาวะระดับน้ำตาลต่ำในเลือดบ่อยครั้ง จนบางรายอาจเข้าใจผิดว่าตนเองควบคุมเบาหวานได้ดี หรือหายจากโรคเบาหวานแล้ว ทั้ง ๆ ที่ควบคุมอาหารได้ไม่ดี

         6) ตรวจพบระดับของเสียในเลือด ยูเรียไนโตรเจน (urea-nitrogen) และระดับครีอะตินีน (creatinine) สูงขึ้น

        

วิธีการที่ไวที่สุดในการค้นหา “เบาหวานลงไต” ระยะแรก คือการตรวจวัดปริมาณไข่ขาวอัลบูมินในปัสสาวะโดยตรง หรือการตรวจไข่ขาวรั่วระดับไมโคร อย่างไรก็ดีมีห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลจำนวนจำกัดที่สามารถให้การตรวจด้วยวิธีนี้ได้ จึงอาจใช้วิธีที่ไวรองลงมา คือการตรวจด้วยวิธีใช้แถบตรวจไข่ขาวอัลบูมิน ซึ่งแถบตรวจปัสสาวะแบบจุ่มสำหรับตรวจหาไข่ขาวอัลบูมินนี้จะไม่ปรากฏในแถบตรวจปัสสาวะแบบจุ่มตามปกติ เนื่องจากมีราคาแพงกว่าแถบตรวจปัสสาวะมาตรฐานทั่วไป อย่างไรก็ตาม การใช้แถบตรวจปัสสาวะมีความไวที่สามารถตรวจให้ผลบวกได้เฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีปริมาณไข่ขาวอัลบูมินจำนวนมากรั่วออกไปทางปัสสาวะระดับแมโครหรือ “เบาหวานลงไต” ระยะกลางเท่านั้น ปรึกษาวิธีการตรวจไข่ขาวหรืออัลบูมินในปัสสาวะเพิ่มเติมกับแพทย์โรคไตหรือแพทย์โรคเบาหวานนะครับ

ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องชี้วัดอะไรที่สามารถทำนายอนาคตได้อย่างแม่นยำว่า “เมื่อไหร่ผู้เป็นเบาหวานลงไตต้องถึงคราวฟอกไต” ตัวเลขที่ยอมรับโดยทั่วไปคือ 5-10 ปี นับจากตรวจพบไข่ขาวรั่วด้วยแถบสีจุ่มปัสสาวะ แต่จะเร็วขึ้นหากควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี ปล่อยปละละเลย ไม่ติดตามการรักษา และไม่ปฏิบัติตามหลัก 9 ประการในการป้องกัน “เบาหวานลงไต”

 

หลัก 9 ประการ ป้องกัน “เบาหวานลงไต” และชะลอให้ไตเสื่อมช้าลง

1) ควบคุมโรคเบาหวานให้ระดับน้ำตาลใกล้เคียงปกติ และให้ระดับน้ำตาลสะสม (hemoglobin A1C) ไม่เกิน 7%

        2) รู้จักพอเพียงในการรับประทานอาหารและเลือกทานอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสม สำคัญมาก ทานอาหารให้สมดุล เพิ่มผักและผลไม้ (ไม่หวาน) ในแต่ละมื้อ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันและโปรตีนมากเกินไป ลดของหวาน งดเครื่องดื่ม ขนม ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ น้ำอัดลม เบเกอรี่ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง ผ่านการแปรรูป ผ่านการถนอมอาหาร อาหารกระป๋อง ใส่ผงชูรส และลดเค็มครึ่งนึงนะครับ จากผลวิจัยพบว่า การทานโปรตีนอย่างเหมาะสม เช่น เนื้อปลา และจำกัดปริมาณ แต่ต้องเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ ผู้เป็นโรคเบาหวานที่มีโรคไตร่วมด้วยจึงควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง สามารถศึกษาการรับประทานอาหารเพิ่มเติมได้ในภาพยนตร์แอนิเมชั่นเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

https://www.youtube.com/watch?v=qwHbi9RjFsQ

3) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าออกหักโหม งดกีฬาที่เสี่ยงต่อการปะทะ เพิ่มแรงดันภายในร่างกาย เช่น เล่น weight วิดพื้น ลุก-นั่ง (sit-up) เป็นต้น      

4) ลดน้ำหนัก อย่าให้มีปัญหาน้ำหนักเกิน     

5) ควรงดบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง ดังนั้นควรเลี่ยงการสูบบุหรี่     

6) ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ ผู้เป็นโรคเบาหวานมักมีความผิดปกติของเส้นประสาท ทำให้กระเพาะปัสสาวะทำงานบกพร่อง และอาจส่งผลร้ายต่อการทำงานของไตได้ ผู้ป่วยจึงควรเฝ้าสังเกตความผิดปกติ เมื่อมีอาการปัสสาวะไม่สุด ต้องเบ่ง มีการคั่งค้างหรือมีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์ทันที      

7) ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในช่วงไม่เกิน 130/80 มิลลิ เมตรปรอท เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยต้องเอาใจใส่ เพราะหากละเลยอาจทำให้หัวใจ สมอง และไตทรุดตัวลงเร็ว   

8) ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะยาในกลุ่ม NSAIDs (Non-Steroidal Anti-inflammatory Drugs) ทุกชนิด ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา เพื่อลดความเสี่ยงที่ยากลุ่มนี้จะทำลายไต     

9) ควรติดตามการรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับตรวจปัสสาวะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจหาปริมาณไข่ขาวอัลบูมินรั่วออกไปทางปัสสาวะ และควรเจาะเลือดวัดค่าครีอะตินีนในเลือดเพื่อคำนวณค่าการทำงานของไต ปีละ 1 ครั้ง

 

 

ข้อมูลจาก ศ.นพ.เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ

อ่านต่อ https://www.dailynews.co.th/article/760213

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล</span >


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module



สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

 

 
 

 



 







 
 

4371517
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
4515
5796
19416
20276
10311
4223747
4371517

Your IP: 172.70.178.141
2025-01-02 17:12