Copyright 2024 - Custom text here

ความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญและมักเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน  ในคนที่เป็นเบาหวานเมื่อไม่สบายพบว่า มีความเสี่ยงในการนอนโรงพยาบาลมากกว่าผู้ไม่เป็นเบาหวานถึง 3.1 เท่า เนื่องจากความเจ็บป่วยมีความรุนแรงร่วมกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคเบาหวานโดยตรง

ช่วงที่ไม่สบายระดับน้ำตาลอาจสูงขึ้นจนทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ปากคอแห้ง อ่อนเพลีย หอบเหนื่อย ซึม หมดสติหรือชัก ในทางตรงกันข้ามระดับน้ำตาลอาจต่ำจนทำให้มีอาการใจสั่น เหงื่อแตก หิว รู้สึกเหมือนจะเป็นลม แขนขาอ่อนแรง ซึมหรือชักได้เช่นเดียวกัน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานที่เกิดจากระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำเกินไป มีข้อแนะนำให้ผู้เป็นเบาหวานปฏิบัติตนดังนี้

  • พยายามรับประทานอาหารตามมื้อปกติ หากไม่สามารถกินอาหารมื้อหลักได้ ให้กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเช่น น้ำผลไม้ ไอศครีม ขนม โยเกิร์ต หรือน้ำซุบ เป็นต้น ทุก 3-4 ชั่วโมง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 1 แก้วทุก 1 ชั่วโมง หากท้องเสียควรดื่มน้ำเกลือแร่ น้ำแกงหรือซุปใส  เพื่อป้องกันความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด นอกจากนี้ควรชั่งน้ำหนักตัวและประเมินปริมาณปัสสาวะ หากน้ำหนักตัวลดลงร่วมกับประมาณปัสสาวะมาก แสดงว่าอยู่ในภาวะขาดน้ำ ต้องดื่มน้ำหรือเกลือแร่เพิ่มขึ้น (สำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจวาย น้ำท่วมปอดหรือโรคไตที่แพทย์จำกัดน้ำ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่เหมาะสม)
  • ตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วอย่างน้อยวันละ ครั้ง หากมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือตรวจพบน้ำตาลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มก./ดล ให้กินคาร์โบไฮเดรตเช่น ลูกอมแบบมีน้ำตาล 3 เม็ด น้ำส้มคั้น 180 มล. น้ำอัดลม 180 มล. น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา เป็นต้น และติดตามระดับน้ำตาลปลายนิ้วที่ 15 นาที หากน้ำตาลยังคงน้อยกว่า 70 มก./ดล. ให้กินอาหารดังข้างต้นซ้ำ หากอาการดีขึ้นและน้ำตาลมากกว่า 80 มก./ดล. ให้กินอาหารตามปกติ แต่หากมีอาการน้ำตาลต่ำรุนแรงจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้ผู้เห็นเหตุการณ์รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ช่วงรอการนำส่งโรงพยาบาลให้นำน้ำหวานเข้มข้น หรือน้ำผึ้งป้ายที่กระพุ้งแก้มข้างที่นอนตะแคง ห้ามกรอกน้ำหวานเนื่องจากอาจสำลักได้
  • หากตรวจพบว่าน้ำตาลมากกว่า 250 มก./ดล. ให้ดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ แต่หากระดับน้ำตาลยังคงสูงติดต่อกันอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ควรพบแพทย์
  • ไม่ควรหยุดยาเบาหวานและยาที่ใช้ประจำ อย่างไรก็ตามมียาเบาหวานบางประเภทที่แพทย์อาจแนะนำให้หยุดหากไม่สบาย จึงควรสอบถามแพทย์ประจำตัวเพื่อขอคำแนะนำ

สิ่งสำคัญคืออย่าลืมไปพบแพทย์เพื่อรักษาต้นเหตุของความไม่สบาย และหากอาการไม่ดีขึ้นต้องไปพบแพทย์ซ้ำเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษา

โดยสรุปแล้วผู้เป็นเบาหวานควรมีการเตรียมตัวและวางแผนก่อนการเจ็บป่วยเช่น มีการปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาเบาหวาน การปรับอินซูลินเมื่อไม่สบาย การเตรียมยาสามัญประจำบ้าน ที่วัดไข้ เครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว บันทึกเบอร์โทรศัพท์ญาติ โรงพยาบาลและรถพยาบาลเพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น ท่านสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น EMS1669 ซึ่งท่านสามารถเรียกรถพยาบาลกรณีฉุกเฉิน ตรวจสอบสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้หรืออ่านการปฏิบัติตนเบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน อย่าลืมว่าผู้ที่เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอาจผ่อนผันสถานการณ์จากหนักเป็นเบา ที่สำคัญคือ การมีสติ” รับมือกับทุกเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต

บทความจาก พญ. ทิพาพร ธาระวานิช https://www.dailynews.co.th/article/680198

     

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

 เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module


สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย 
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN 


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

โครงการ For Your Sweetheart ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทุกคนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของโรคเบาหวาน และโรคหัวใจโดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และครอบครัวทราบถึงความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด พร้อมทั้งให้ความรู้กับบุคคลใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีรวมไปถึงการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้

 

 



 


 
 
 
 
 

                       

   

 

1529000
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1810
8696
44040
47130
19939
1307285
1529000

Your IP: 172.70.126.119
2024-05-03 03:46