Copyright 2025 - Custom text here

ปีเก่าผ่านไป ปีใหม่ ล่วงมาแล้ว 5 วัน แต่เบาหวานก็ยังอยู่กับเราต่อไปทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต ท่านที่มีความรู้เรื่อง “โรคเบาหวาน” ดีพอ มีวินัยและมีแนวปฏิบัติในวิถีทางดำเนินชีวิตที่ดีเหมาะสมเพียงพอ ก็จะมีชีวิตยืนยาวได้อย่างมีความสุข ปราศจากโรคแทรกซ้อนของโรคนี้

ท่านศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชลิต รัตรสาร เน้นยํ้าว่า โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก ในปัจจุบัน ถึงแม้การรักษาโรคเบาหวานได้มีการพัฒนาไปอย่างมาก แต่พบว่าประชากรที่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ มีเพียงร้อยละ 30-60 ในประเทศที่เจริญแล้ว และอาจน้อยกว่าร้อยละ 30 ในประเทศที่กำลังพัฒนา ระดับนํ้าตาลในเลือดที่สูงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะ ต่าง ๆ เช่น ตา ไต เท้า หัวใจ สมอง และอื่น ๆ อีกมากมาย ภาระค่าใช้จ่ายที่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยต้องแบกรับ อันเกิดจากการรักษาโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในแต่ละปีคิดเป็นจำนวนเงินมหาศาล ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานโดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และคุ้มค่ากว่าการให้การรักษาเมื่อเกิดโรคขึ้นแล้ว

 

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ได้แนะนำให้มีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป รวมทั้งผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปีแต่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ภาวะที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ ผู้ที่มีความผิดปกติข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังต่อไปนี้ ผู้ที่อ้วน (มีดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 25 กิโลกรัม/เมตร 2 และ/หรือมีรอบเอวมากกว่า 32 นิ้วในผู้หญิงหรือ 36 นิ้วในผู้ชาย) และมีพ่อ แม่ พี่หรือน้องเป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากกว่า 250 มก./ดล. และ/หรือ HDL คอเลสเตอรอลในเลือดตํ่ากว่า 35 มก./ดล. ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือคลอดลูกที่มีนํ้าหนักตัวแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่มีโรคถุงนํ้าในรังไข่

เบาหวาน ป้องกันได้ในผู้มีความเสี่ยง

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการควบคุมปริมาณและชนิดของอาหาร ร่วมกับการมีกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอโดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะลดนํ้าหนักตัวในผู้ที่มีนํ้าหนักตัวเกินลงอย่างน้อยร้อยละ 5-7 ในประชากรกลุ่มเสี่ยง สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 30-50 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวสามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยงได้ แต่ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติในชีวิตจริง สาเหตุสำคัญเนื่องจากผู้ปฏิบัติไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้นํ้าหนักตัวลดลงไม่มาก หรือบางรายนํ้าหนักตัวที่เคยลดลงกลับเพิ่มขึ้นมาอีก ผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมนํ้าหนักได้อย่างต่อเนื่อง ก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในระยะยาวได้

 

โดยสรุป การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานด้วยการตรวจระดับนํ้าตาลในเลือดในประชากรกลุ่มเสี่ยง จะมีประโยชน์ในแง่ของการป้องกันโรคในผู้ที่ยังไม่เป็นโรค และช่วยในการให้การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ ในผู้ที่ไม่เคยทราบว่าตนเองเป็นโรค การตรวจพบและการรักษาโรคเบาหวานตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะให้ผลในการรักษาโรคดีกว่าคอยให้โรคเป็นมากแล้วค่อยมารักษาอย่างแน่นอน

 

ข้อมูลจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชลิต รัตรสาร สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย.... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/750172

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล</span >


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module



สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

 

 
 

 



 







 
 

5142291
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3079
4549
30508
39406
100725
4812568
5142291

Your IP: 172.70.131.140
2025-04-19 18:44