ความอ้วนและการลดนํ้าหนักคงเป็นหนึ่งในเรื่องที่หลายคนกังวลทุกครั้งที่ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ
ในวันนี้อยากหยิบยกหนึ่งในพฤติกรรมการกินตามกระแสที่สุดแสนจะร้อนแรงอย่าง Intermittent Fasting หรือ คำย่อที่รู้จักกันในวงการคนลดนํ้าหนักคือ IF ภาษาไทยอาจใช้คำว่า “การงดอาหารเป็นช่วง ๆ” หรือ “การงดอาหารเป็นเวลา” ซึ่งอธิบายวิถีการกินแบบนี้ได้ดี
การงดอาหารเป็นช่วง ๆ มีแนวคิดสำคัญ 3 ข้อ คือ
1) เลือกงดอาหารเป็นเวลาในระดับที่ทนได้
2) ในช่วงงดอาหารสามารถกินอาหารพลังงานตํ่าได้เล็กน้อย และ
3) ในช่วงกินอาหารต้องกินอาหารในปริมาณพอดี ซึ่งสามารถแบ่งการงดอาหารเป็นช่วง ๆ ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทแรก กินอาหารได้ทุกวัน แต่จำกัดเวลากิน ในแต่ละวัน แบบนี้เรียกว่า Time- restricted fasting (TRF) โดยมีรหัสตัวเลขที่รวมกันแล้วได้ 24 เท่ากับ 24 ชั่วโมงในแต่ละวันพอดี ยกตัวอย่างเช่น
16:8 หมายถึง งดอาหาร 16 ชั่วโมง กินอาหารได้ 8 ชั่วโมง โดยจะเริ่มกินมื้อแรกตอนกี่โมงก็ได้ แต่มื้อสุดท้ายจะต้องภายในเวลาไม่เกิน 8 ชั่วโมงจากเริ่มกินมื้อแรก เช่น กินมื้อแรก 8 โมงเช้า ต้องกินอาหาร มื้อสุดท้ายภายใน 4 โมงเย็น สูตรนี้เป็นที่นิยมเพราะปฏิบัติได้ง่าย และคล้าย ๆ กับความเชื่อเรื่อง “ไม่กินมื้อเย็นดึก ๆ” มนุษย์ออฟฟิศ นักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ปฏิบัติได้ดีเพราะมักกินมื้อแรกตอนเที่ยง และกินมื้อสุดท้ายไม่เกิน 2 ทุ่ม
19:5 หมายถึง ให้กินอาหารได้ไม่เกิน 5 ชั่วโมงและต้องงดการกินอาหาร 19 ชั่วโมง
การงดอาหารเป็นช่วง ๆ นั้นจะไม่ช่วยลดนํ้าหนักเลย ถ้ายังกินอาหารที่ให้พลังงานใกล้เคียงปกติ
เป็นเพียงกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้กินอาหารเป็นเวลา และเมื่อจำกัดเวลาการกิน ก็ควรได้รับพลังงานจากอาหารน้อยลง นอกจากนี้งานวิจัยคุณภาพดียังบ่งชี้ประโยชน์ของการควบคุมอาหารตามวิธีการมาตรฐานดั้งเดิม เมื่อลดนํ้าหนักได้เพียงร้อยละ 3 ของนํ้าหนักตั้งต้นก็ให้ประโยชน์ได้ไม่แตกต่างไปจากการงดอาหารเป็น ช่วง ๆ แต่มีความทรมานร่างกายน้อยกว่า โดยสรุปแล้ว ควรเลือกใช้แนวทางปฏิบัติหรือวิถีที่เหมาะสมกับตัวเองในการลดนํ้าหนัก โดยสามารถปฏิบัติตามได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ทรมานร่างกายเกินความจำเป็น เพื่อช่วยให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน.
ข้อมูลจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ
อ่านต่อ https://www.dailynews.co.th/article/707471