Copyright 2024 - Custom text here

การปฎิบัติตัวเมื่อเป็นเบาหวานลงไต
 
โรคไตที่เกิดจากเบาหวานมีหลายระยะ แต่ไม่ว่าเป็นในระยะใด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลสะสมหรือค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี (HbA1c น้อยกว่า 7%) ควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ควบคุมไขมันไม่ดีชนิดแอลดีแอล ( LDL) ให้น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร)  งดการสูบบุหรี่ จะช่วยชะลอความเสื่อมของไต นอกจากนี้ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ระมัดระวังการรับประทานยาจากภายนอกโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เช่น  ยาแก้ปวดบางชนิด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริม สมุนไพร ยาลูกกลอน เป็นต้น และการควบคุมอาหารก็มีความจำเป็นเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อเบาหวานลงไตควรหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม จำกัดปริมาณโปรตีนที่ร่างกายควรได้รับ (ขึ้นกับสภาพการทำงานของไตในผู้ป่วย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าผู้เป็นเบาหวานทุกคน เพียงแค่ควบคุมดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่จะส่งผลให้การทำงานของไตแย่ลง พบแพทย์ตามนัด รักษาและปฎิบัติตัวตามแพทย์สั่งอย่างถูกต้องและเหมาะสม ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้การทำงานของไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วได้

บทความจาก รศ.พญ.ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล</span >


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module



สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

 

 
 

 



 







 
 

4168495
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
7972
11464
52483
67130
218955
3634670
4168495

Your IP: 172.70.100.168
2024-11-21 12:16