Copyright 2024 - Custom text here

ในช่วงไม่สบายร่างกายจะมีการสร้างนํ้าตาลเพิ่มขึ้น มีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถนำนํ้าตาลไปใช้ได้ ระดับนํ้าตาลในเลือดจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายนํ้า ปากคอแห้ง อ่อนเพลีย นํ้าหนักลดลง ในขณะนั้นหากผู้เป็นเบาหวานดื่มนํ้าน้อย นํ้าตาลที่สูงจะยิ่งทำให้เลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น เปรียบเสมือนนํ้าเชื่อมเข้มข้นนั่นเอง ส่งผลกระทบถึงสมองทำให้ซึม หรือชักได้

     การเตรียมตัวก่อนเจ็บป่วย

ควรมีการปรึกษาและวางแผนกับแพทย์เกี่ยวกับการปฏิบัติตนหากเจ็บป่วยตั้งแต่ทราบว่าเป็นเบาหวาน และหลังจากนั้นควรทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันภาวะนํ้าตาลสูงฉุกเฉินหรือนํ้าตาลต่ำรุนแรง ผู้เป็นเบาหวานควรวางแผนเกี่ยวกับยาเบาหวาน การปรับยาอินซูลิน วางแผนเตรียมอาหารอ่อน อาหารเหลว หรือผงเกลือแร่ ในกรณีที่ไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ เตรียมยาสามัญประจำบ้าน อุปกรณ์วัดไข้ เครื่องมือในการตรวจนํ้าตาลปลายนิ้ว แถบตรวจคีโตนในเลือดหรือปัสสาวะ บันทึกเบอร์โทรศัพท์ญาติ บุคลากรโรงพยาบาลและรถพยาบาลในกรณีต้องการความช่วยเหลือ...

 

การปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วย

 

1. พยายามรับประทานอาหารตามมื้อปกติ หากไม่สามารถกินอาหารมื้อหลักได้ ให้กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น นํ้าผลไม้ ไอศกรีม ขนม โยเกิร์ต หรือนํ้าซุป เป็นต้น ทุก 3-4 ชั่วโมง

 

2. ดื่มนํ้าให้เพียงพออย่างน้อย 1 แก้วทุก 1 ชั่วโมง หากท้องเสียควรดื่มนํ้าเกลือแร่ นํ้าแกงหรือซุปใส เพื่อป้องกันความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด นอกจากนี้ควรชั่งนํ้าหนักตัวและประเมินปริมาณปัสสาวะ หากนํ้าหนักตัวลดลงร่วมกับปริมาณปัสสาวะมาก แสดงว่าอยู่ในภาวะขาดนํ้า ต้องดื่มนํ้าหรือเกลือแร่เพิ่มขึ้น (สำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจวาย นํ้าท่วมปอดหรือโรคไตที่แพทย์จำกัดนํ้า ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณนํ้าที่เหมาะสม)

 

3. ควรตรวจระดับนํ้าตาลปลายนิ้วและตรวจคีโตนในเลือดหรือปัสสาวะ โดยมีแนวทางดังนี้

 

3.1 ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ควรตรวจระดับนํ้าตาลอย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง

 

3.2 ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ให้ตรวจระดับนํ้าตาลปลายนิ้วอย่างน้อยทุก 2-4 ชั่วโมงตลอดทั้งวัน และตรวจคีโตนในเลือดหรือปัสสาวะเป็นระยะ

 

3.3 หากมีอาการนํ้าตาลต่ำ หรือตรวจพบนํ้าตาลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มก./ดล. ให้ปฏิบัติดังนี้

 

3.3.1 หากอาการไม่มากให้กินคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม เช่น ลูกอมแบบมีนํ้าตาล 3 เม็ด นํ้าส้มคั้น 180 มล. นํ้าอัดลม 180 มล. นํ้าผึ้ง 3 ช้อนชา ขนมปังปอนด์ 1 แผ่น นมสด 1 แก้ว ข้าวต้มหรือโจ๊กครึ่งถ้วย เป็นต้น และติดตามระดับนํ้าตาลปลายนิ้วที่ 15 นาที หาก นํ้าตาลยังคงน้อยกว่า 70 มก./ดล. ให้กินอาหารดังข้างต้นซํ้า หากอาการดีขึ้นและนํ้าตาลมากกว่า 80 มก./ดล. ให้กินอาหารตามปกติ

 

3.3.2 หากอาการรุนแรงจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้ผู้เห็นเหตุการณ์รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ช่วงรอการนำส่งโรงพยาบาลให้นำนํ้าหวานเข้มข้น หรือนํ้าผึ้งป้ายที่กระพุ้งแก้มข้างที่นอนตะแคง ห้ามกรอกนํ้าหวานเนื่องจากอาจสำลักได้

 

3.3.3 ผู้ที่ฉีดอินซูลินอาจต้องปรับยาลดลงจากเดิม

 

4. ผู้ที่ฉีดอินซูลินห้ามหยุดยา และให้ปรับยาตามระดับนํ้าตาลตามที่แพทย์แนะนำ

 

5. ไม่ควรหยุดยาที่ใช้ประจำ ในกรณีที่เจ็บป่วยรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้หยุดยาเบาหวานบางชนิด ได้แก่

 

5.1 เมทฟอร์มิน (metformin) เนื่องจากในผู้เป็นเบาหวานบางรายอาจมีผลข้างเคียง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือเลือดเป็นกรด

 

5.2 ยาเบาหวานที่ออกฤทธิ์โดยเพิ่มการขับนํ้าตาลทางปัสสาวะที่เรียกว่ากลุ่ม SGLT-2 inhibitor เนื่องจากทำให้เสี่ยงต่อภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตนโดยที่ระดับนํ้าตาลในเลือดไม่สูงมาก (euglycemic diabetic ketoacidosis)

 

ทั้งนี้ผู้เป็นเบาหวานต้องปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดยา

 

6. ควรพบแพทย์เพื่อรักษาต้นเหตุของความเจ็บป่วย รายละเอียดที่ควรเตรียมเพื่อแจ้งแพทย์ เช่น อาการที่ผิดปกติ ยาที่รับประทานทั้งหมดทั้งยาประจำและยาที่ใช้ช่วงไม่สบาย ไข้หรืออุณหภูมิที่วัดเองที่บ้าน ระดับนํ้าตาลในเลือดและผลการตรวจคีโตน เป็นต้น

 

7. พบแพทย์หรือปรึกษาทีมเบาหวานทันทีที่เจ็บป่วยร่วมกับข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้

 

7.1 ระดับนํ้าตาลมากกว่า 250 มก./ดล.ติดต่อกันอย่างน้อย 12 ชั่วโมง

 

7.2 ตรวจพบคีโตนในปัสสาวะระดับปานกลางถึงมาก หรือคีโตนในเลือดมากกว่า 1.5 มิลลิโมล/ลิตร

 

7.3 มีอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะนํ้าตาลในเลือดสูงฉุกเฉินที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ได้แก่ อาเจียน ง่วง ซึม สับสน หอบเหนื่อย ปวดท้อง เป็นต้น

 

7.4 รู้สึกไม่สบายมาก อ่อนเพลีย ไม่สามารถกินได้ ไม่สามารถให้การดูแลตนเอง หรือไม่มีคนดูแล

 

7.5 นํ้าตาลต่ำรุนแรง

 

7.6 อายุน้อยกว่า 2 ขวบ หรือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

 

     ความเจ็บป่วยถึงแม้จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันและเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญ แต่ความเจ็บป่วยบางอย่างเราสามารถป้องกันได้โดยวิธีง่าย ๆ เช่น ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งดเหล้าและบุหรี่ การได้รับวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์ การกินยาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น ส่วนการ เตรียมพร้อมวางแผนรับมือกับความเจ็บป่วยก็เป็นสิ่งสำคัญในผู้เป็นเบาหวาน เพื่อที่จะผ่านเหตุการณ์เจ็บป่วยไปได้อย่างราบรื่น ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เป็นเบาหวาน ญาติ ผู้ดูแล แพทย์และบุคลากรการแพทย์ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย

 

ข้อมูลจาก รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงทิพาพร ธาระวานิช สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ....อ่านต่อที่ :https://www.dailynews.co.th/article/680198

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล</span >


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module



สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

 

 
 

 



 







 
 

4170220
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
9697
11464
54208
67130
220680
3634670
4170220

Your IP: 172.70.131.153
2024-11-21 15:48