2018 ACC Expert Consensus Decision Pathway on Novel Therapies for Cardiovascular Risk Reduction in Patients With Type 2 Diabetes and Atherosclerotic Cardiovascular Disease A Report of the American College of Cardiology Task Force on Expert Consensus Decision Pathways
การรักษาเบาหวานปัจจุบัน เน้นการลดการเกิดโรคหัวใจในอนาคต ควบคู่ไปกับการคุมปัจจัยอื่นๆ (เช่น ควบคุมระดับน้ำตาล คุมไขมันในเลือดและความดันโลหิต ตลอดจนงดบุหรี่ เป็นต้น)
ยาในปัจจุบันที่พบว่าลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ ลดการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการนอนโรงพยาบาล ด้วยโรคหัวใจ ได้แก่ ยากลุ่ม SGLT2inhibitor (เช่น empagliflozin, canagliflozin) และ GLP1agonist
กลไกการของฤทธิ์ ที่มีประโยชน์ของยากลุ่ม SGLT2inhibitor คือ natriuresis, diuresis, reduce blood pressure, weight loss, reduce albuminuria, slow kidney function decline เป็นต้น
อย่างไรก็ดี การใช้ ยากลุ่ม SGLT2inhibitor ควรพิจารณาข้อห้ามใช้ เช่น ไตวาย eGFR < 45 ml/min/1.73m2 หรือข้อควรระวัง เช่น ภาวะขาดน้ำ ความดันโลหิตต่ำ สูงอายุ เนื่องจากส่งผลต่อข้างเคียง มีภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนคั้งได้ นอกจากนี้ ควรระวังในผู้เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า เพราะจากข้อมูลของ CANVAS ในยา canagliflozin พบอัตราการเกิดแผลที่เท้าจนถูกตัดเท้า เพิ่มขึ้น
ส่วน GLP1 RA เป็น ยาลดน้ำตาลอีกชนิด ที่ออกฤทธิ์ เพิ่มการหลั่งอินซูลิน ลดการหลั่งกลูคากอน เพิ่มเวลาการย่อยอาหารทำให้อิ่มนานขึ้น ยาตัวนี้ ลดการเกิดการตายจากโรคหัวใจเช่นกัน จากการศึกษายา liraglutide ใน LEADER trial หรือ semaglutide, lixisenatide เป็นต้น
ผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน
ระวังหรือห้ามใช้ยาในผู้ป่วยไตวาย หรือมีประวัติตับอ่อนอักเสบ หรือประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งไทรอยด์ชนิด medullary thyroid cancer