Copyright 2024 - Custom text here

อย่าคิดว่าแน่ เลยไม่แคร์เบาหวาน โดย ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์

 เบาหวานคือโรคที่ระดับน้ำตาลในร่างกายผิดปกติ ซึ่งตามเกณฑ์ของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ กำหนดไว้ว่าคือค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง อยู่ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มก./ดล. หรือหากตรวจโดยไม่อดอาหารมาก่อน จะใช้ค่า 200 มก./ดล. เป็นเกณฑ์ เหตุที่กำหนดเช่นนี้เนื่องจากพบว่า โรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นที่ระดับดังกล่าว

อะไรบ้างที่เป็นความเข้าใจผิด เกี่ยวกับโรคเบาหวาน

ที่หมอเจอบ่อยก็คือ ถ้าเขารู้สึกสบายดี ไม่มีอาการอะไร ก็คิดว่าร่างกายเขาดี แต่ที่จริงแล้วเราดูแต่อาการไม่ได้ คนที่มีระดับน้ำตาล 130 ซึ่งเป็นเกณฑ์เบาหวาน เขาไม่มีอาการหรอกค่ะ แต่ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ ก็จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีอาการรุนแรง เช่น ปัสสาวะเยอะ หิวน้ำบ่อย ผอมลง น้ำหนักลด เพลีย เรียกว่าเบาหวานแสดงอาการชัดเจน

และหลายๆ โรค เราต้องรักษาตัวเลขด้วย โรคกลุ่มนี้ซึ่งได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือที่เรียกว่ากลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) เป็นกลุ่มโรคที่ไม่มีอาการ เวลามีอาการเมื่อไรนั่นคือแย่แล้ว อยากให้เข้าใจใหม่ว่าแม้เราจะรู้สึกดี ไม่มีอาการอะไร แต่ถ้ามีความเสี่ยง ก็ยังต้องไปเช็ค ไปตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือด

โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอย่างเช่นมีพี่น้องหรือพ่อแม่เป็นเบาหวาน ถือว่าเสี่ยงระดับหนึ่ง อันที่สองคืออายุที่มากขึ้น เนื่องจากเบาหวานเป็นกันมากในคนอายุมาก อันนี้เป็นสองประเด็นใหญ่ๆ ซึ่งเราป้องกันไม่ได้ ได้รับมรดกมาจากพ่อแม่ หรือการที่พี่น้องเป็น ก็ส่งสัญญาณว่า ถ้าเรากินอยู่เหมือนกัน ปฏิบัติเหมือนกัน ก็จะเป็นโรคเหมือนกัน

ไม่ใช่ทุกคนต้องตรวจเหมือนกันหมด อายุที่เริ่มก็อาจจะไม่เท่ากัน คนที่อ้วนและมีคุณพ่อคุณแม่เป็นมาก่อน ต้องตรวจสุขภาพเร็ว อายุ 30 ปี หรือใกล้เคียง ก็อาจต้องตรวจแล้ว ในขณะที่คนธรรมดา 35-40 ปี แล้วค่อยตรวจก็ได้ อันนี้หมอคิดว่าถ้าเราดูรูปร่างเรา เมื่อไหร่น้ำหนักขึ้นเกินมาตรฐานก็ต้องรีบยั้งมัน มิฉะนั้นนานเข้าๆ จะมีความดันโลหิตสูงขึ้น น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ไขมันในเลือดผิดปกติ และในอนาคตก็คือโรค

อีกอย่างที่เข้าใจผิดเพราะโดยมากก็โยนความผิดให้มรดก ว่าเป็นเพราะพ่อแม่เป็น แต่จริงๆ แล้วถ้าไปดูครอบครัวที่เป็นเบาหวานเยอะๆ การดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ มักคล้ายคลึงกัน ถ้ามีมรดกมาส่วนหนึ่งแล้ว ประกอบกับการใช้ชีวิตที่กินอย่างเพลิดเพลิน เมินการออกกำลังกาย ก็จะเป็นเบาหวานได้ง่ายขึ้น

 

เบาหวานทำให้ทั่วร่างกายเปลี่ยนไปหมดอย่างไม่รู้ตัว เพราะว่ามันเดินทางไปตามเส้นเลือด ทุกอณูในตัวเรามีน้ำตาลไปถึง ก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องมีน้ำในทุกส่วน ถ้าน้ำตาลเหล่านี้มากเกินไป น้ำตาลที่ย่อยไม่หมดก็แปรสภาพไป สารที่แปรสภาพนี้ก็ทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติ แล้วเกิดเป็นโรคแทรกตามมา

ถ้าเราเป็นโดยไม่รู้ตัวมา 8 ปี นั่นคือเราไม่ได้รักษา สิ่งที่เบาหวานไปทำลายและทำร้ายนี่มันเยอะมากแล้ว เช่น ตาเสีย ไตเสีย เส้นเลือดหัวใจเริ่มตีบ หลอดเลือดสมองเริ่มตีบ สิ่งเหล่านี้ไม่มีอาการทั้งนั้น ถ้าเราไม่รู้และไม่ได้รักษา หรือแม้รู้ว่าเป็นแต่ไม่รักษา น้ำตาลก็สร้างความเสียหายให้ตัวคนคนนั้น สมมติคนหนึ่งเริ่มเป็นเบาหวานปีนี้ กว่าจะเกิดโรคแทรกที่แสดงอาการก็ 10 กว่าปีไปแล้ว แต่ในช่วง 10 กว่าปีที่อยู่กับเบาหวาน ร่างกายก็โดนทำร้ายไปเรื่อยๆ

เพราะฉะนั้นหมอถึงบอกว่าคนส่วนใหญ่เชื่อว่าตัวเองรู้สึกสบายดี คิดว่าแข็งแรง ทั้งที่โรคมาแล้ว ถึงมีคำว่า “คัดกรองโรคเบาหวาน” คือไปตรวจสุขภาพเพื่อดูว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ แต่ถ้าเป็นรายที่มีอาการแล้ว เช่น ตามัว ไปตรวจตา ถึงเพิ่งจะรู้ว่าเป็นเบาหวาน คือเบาหวานขึ้นตา

เริ่มต้นทั้งตัวเบาหวานเอง และโรคแทรกจากเบาหวาน มันไม่มีอาการ แต่ถ้าเป็นโรคแทรกแบบเฉียบพลัน เช่นน้ำตาลขึ้นสูงมากๆ อาจระบุโรคได้ง่าย บางคนขึ้น 800-1,000 นี่ซึมมาโรงพยาบาลเลย อันนี้จะเร็วหน่อย 1-2 สัปดาห์ก็มีอาการชัด หรือเด็กที่เป็น DKA[1] หรือผู้ใหญ่ที่เป็นชนิดที่ 2 เป็น DKA คือเลือดเป็นกรด อาจจะไม่ถึงอาทิตย์ หรือแค่ 1-2 วัน ก็อยู่ไม่ไหว เพราะว่าเหนื่อยหอบจนต้องมาโรงพยาบาล เราเรียกกรณีนี้ว่าเป็นโรคแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ซึ่งรักษาหายได้

แต่โรคแทรกซ้อนที่เรื้อรัง ถ้าเป็นแล้วก็เป็นเลย อย่างดีก็แค่ช่วยชะลอไม่ให้อวัยวะเสื่อมหรือเสียเร็ว เช่น ไตเริ่มไม่ดี ก็ต้องรักษาเบาหวานและควบคุมปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจจะยืดเวลาที่จะต้องล้างไตออกไปได้อีก จาก 5 ปี เป็น 10 ปี

 

เบาหวานรักษาหายได้จริงหรือเปล่า

ต้องบอกว่ารักษาไม่หาย แต่เป็นปกติได้ หมายความว่าคนที่เป็นเพราะอ้วน กินอาหารไม่ถูกต้อง ถ้าคุมอาหารให้ดีๆ ลดน้ำหนัก ระดับน้ำตาลก็จะกลับไปเป็นปกติเลย แต่ถามว่าหายไหม? ณ ตอนนั้นจะเรียกว่าหายก็ได้ แต่จริงๆ แล้วคือเราแค่ควบคุมโรคได้ เมื่อไรเลิกปฏิบัติ มันก็กลับมา ถ้าเป็นหมอ หมอเรียกว่าไม่หาย

ปัจจัยที่ทำให้ดื้ออินซูลินคือเซลล์ที่สะสมไขมันมาก พอมีขนาดใหญ่ พฤติกรรมของเซลล์ก็เปลี่ยน ปกติอินซูลินทำงานได้ดี เซลล์ไขมันผลิตฮอร์โมนที่ทำให้อินซูลินทำงานได้ดี แต่พออ้วน มันไม่ผลิต อินซูลินก็ทำงานได้ไม่ดีนัก เซลล์ไขมันยังส่งไขมันออกไปรบกวนการเผาผลาญน้ำตาลอีก เป็นปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้น้ำหนักที่เพิ่มกลายเป็นปัญหา

เพราะฉะนั้น ถ้าคนคนหนึ่งเข้าเกณฑ์เบาหวาน แต่เป็นไม่มากและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม น้ำหนักเขาลงได้ อันนี้น้ำตาลจะเป็นปกติเลย เราก็จะบอกว่าเขาหายแล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ปล่อยตัวเหมือนเดิม มันกลับมาใหม่แน่ๆ เพราะตามหลักแพทย์ถือว่าไม่หาย ยิ่งถ้ามีอายุมากขึ้น แม้จะไม่อ้วนมากเท่าตอนแรกที่เป็น อ้วนขึ้นนิดหน่อยก็มีโอกาสจะเป็นแล้ว

หรือว่าถ้าคนที่ไม่สามารถควบคุมให้กลับมาเป็นปกติ ก็ควบคุมมาให้อยู่ในระดับที่โอกาสเกิดโรคแทรกน้อย

อ่านต่อ https://www.the101.world/wannee-interview/

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล</span >


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module



สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

 

 
 

 



 







 
 

4332582
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
757
2821
25146
30908
108835
3949540
4332582

Your IP: 172.70.100.154
2024-12-22 06:20