โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบบ่อยและพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ โดยพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ร้อยละ 6.4 และพบอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.5-19.2 ในผู้สูงอายุ
การดูแลและการตั้งเป้าหมายในการรักษาโรคเบาหวานจึงเน้นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ แต่ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุบางกลุ่มอาจไม่ได้ประโยชน์มากนักจากการควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข้มงวด หรือถ้าควบคุมเข้มงวดมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลต่ำในเลือด ซึ่งอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดี โดยทั่วไปเป้าหมายการรักษาเบาหวานในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18-65 ปี กำหนดระดับน้ำตาลสะสมหรือค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) น้อยกว่า 7% กรณีควบคุมเข้มงวดระดับน้ำตาลสะสมควรน้อยกว่า 6.5% และกรณีไม่เข้มงวดมากระดับน้ำตาลสะสมควรอยู่ระหว่าง 7-8% ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ถ้าร่างกายแข็งแรงดี ช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่มีโรคร่วมรุนแรง แนะนำควบคุมระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่าหรือใกล้เคียง 7.0% ถ้าสภาพร่างกายไม่แข็งแรง เปราะบาง มีโอกาสล้ม หรือเจ็บป่วยรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดขั้นรุนแรง อาจให้ระดับน้ำตาลสะสมหรือค่า HbA1C สูงได้ถึง 8.5% ... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/663767
ข้อมูลจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ.