Diabetes care 2019 มีอะไรเปลี่ยน
http://care.diabetesjournals.org/content/42/Supplement_1
http://care.diabetesjournals.org/content/42/Supplement_1/S4
Section 1. Improving Care and Promoting Health in Populations อาจนำการใช้ telemedicine มาช่วยในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
Section 2. Classification and Diagnosis of Diabetes การวินิจฉัยทำได้ 4 วิธี เช่นเดิม สิ่งที่เพิ่มเติม คือ อาจพบ ค่าน้ำตาล ไม่ไปด้วยกันกับค่าน้ำตาลสะสม ดังนั้นอาจต้อง อาศัยเกณฑ์ที่ผิดปกติทั้ง FPG และ A1C จากการเจาะเลือดเวลาเดียวกัน
Section 3. Prevention or Delay of Type 2 Diabetes
เน้นเรื่องอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่อ้วน ได้ลดน้ำหนัก อย่างน้อย 7% จากน้ำหนักตัวเดิม
แนะนำหยุดบุหรี่เนื่องจาก บุหรี่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นเบาหวาน
ยา Metformin สามารถป้องกันการเกิด type 2 diabetes พิจารณาให้ในรายที่ BMI ≥35 kg/m2,อายุ <60 years, หรือหญิงที่มีประวัติเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
Section 4. Comprehensive Medical Evaluation and Assessment of Comorbidities
เน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นทีม
ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ด้วยการใช้ 10-year atherosclerotic cardiovascular disease (ASCVD) risk
เน้นลดการบริโภคน้ำตาลทั้งน้ำตาลธรรมชาติและน้ำตาลเทียม
ลดอาหารที่มีโซเดียม เพื่อลดการเกิดความดันโลหิตสูง
Section 6. Glycemic Targets
เน้นการดูแนวทางการรักษาและกำหนดเป้าหมายการรักษาด้วยค่าน้ำตาลสะสม A1C
Section 8. Obesity Management for the Treatment of Type 2 Diabetes
เบาหวานที่อ้วน พิจาณณาผ่าตัด metabolic surgery
Section 9. Pharmacologic Approaches to Glycemic Treatment
เน้นความสำคัญทางปัจจัยด้านตัวผู้ป่วย เช่น น้ำหนัก อายุ โรคร่วมที่สำคัญ โรคหัวใจ ASCVD ไตวายเรื้อรัง หรือความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลต่ำ เป็นต้น
มีการเปลี่ยนแนวทางการใช้ยาฉีด a glucagon-like peptide 1 receptor agonist should be the first choice,นอกเหนือจาก insulin.
ส่วน เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ แนะนำให้ใช้อินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากยาอินซูลินไม่ผ่านรก
ส่วน metformin and glyburide ไม่แนะนำให้ใช้เป็นอันดับแรกแล้วเพราะยาผ่านรกได้