แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566
โดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เนื้อหาที่ปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมในแนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 ได้แก่
- เปลี่ยนการแบ่งชนิดของโรคเบาหวาน ตามองค์การอนามัยโลก (WHO 2019) ซึ่งมี
การเพิ่มโรคเบาหวานชนิดผสมชนิดที่ 1 และ 2 (hybrid form) ได้แก่ slowly evolving immune
diabetes และ ketosis prone type 2 diabetes
- การประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานโดยใช้ Thai Diabetes Risk Score แบบใหม่
- เป้าหมาย A1c มีการปรับให้เข้ากับลักษณะของผู้เป็นเบาหวานแต่ละราย
- บทใหม่ แนะนำการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เน้นการควบคุมอาหารและเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างเคร่งครัด ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ
- บทใหม่ รายละเอียดเกณฑ์การวินิจฉัย ประเมินรักษาและป้องกันภาวะฉุกเฉินของระดับน้ำตาลในเลือดสูง
เป็นต้น
https://drive.google.com/file/d/1OAIDiCyGsJYA1-wTAxoOu6yL_YL9c7IG/view?usp=sharing
หมายเหตุ สามารถเลือกอ่านบทหรือหัวข้อที่ต้องการตามสารบัญได้ โดยการเปิดไฟล์ด้วย acrobat reader แล้วคลิกที่เมนู " Bookmarks" ด้านขวาของจอ
แก้ไขคำผิด บทที่ 9 การรักษาเบาหวานในผู้เป็นโรคไตเรื้อรัง
หน้า 98 ตารางที่ 2
Canagliflozin 100 มก. ถ้าeGFR 30-60 ( แก้ไขจาก 45 เป็น 30 )
หน้า 100 บรรทัดที่ 8
Canagliflozin ให้ใช้ขนาด 100 มก.ต่อวัน ถ้าeGFR อยู่ระหว่าง 30-60 (แก้ไขจาก 45เป็น 30)
หน้า 102 บรรทัดที่ 8
ถ้า A1c < 7.5% ควรมีการลดขนาดอินซูลิน (แก้ไขจาก > เป็น <)