เค็ม หวาน บาดใจ ตอน "กินคาวไม่กินหวานจะผิดไหม?"

การดูแลผู้ป่วย

เค็มหวานบาดใจ_เมนูคาว ปก

“เบาหวานไม่เห็นน่ากลัว เป็นแล้วเดี๋ยวก็หาย ใคร ๆ ก็เป็นกัน” 

ประโยคที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ผลมาจากความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เพราะในความเป็นจริงแล้ว โรคเบาหวานเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายได้  

แต่คนไทยถูกสอนมาช้านานจนเป็นนิสัย กลายเป็นว่าเมนูหลัก 1 ชุดใหญ่อิ่ม ๆ ต้องตบด้วยของหวานสักอย่างเพื่อมาล้างปากซะหน่อย มื้ออาหารครั้งนี้ถึงจะสมบรูณ์แบบ

แต่!! ถ้าเราเป็นสารพัดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด  รวมถึงโรคไต  ยังควรจบมื้ออาหารด้วยสุภาษิต "กินคาวไม่กินหวาน สันดานไพร่" นี้อยู่อีกมั้ย ? 
รายการ เค็ม หวาน บาดใจ  ตอนที่ 2 นี้ เรามีคำตอบมาให้ชมกันค่ะ

เลือกกินเมนูขนมหวานอย่างไร ให้ห่างไกลโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด  รวมถึงโรคไต

เมื่อคอแห้ง หิวน้ำ คนทั่วไปมักเลือกน้ำอัดลม แต่ใครที่เป็นโรครุมเร้าจากทั้ง 3 อาการ เครื่องดื่มสูตรที่น้ำตาลน้อยหรือไม่ผสมน้ำตาลเลยถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ถ้าจะให้ดีมาก ๆ และประหยัดที่สุด คือ น้ำเปล่า เลยค่ะ

หลีกเลี่ยงการทานผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เช่น ทุเรียน ลำไย 
โดยในผู้ที่เป็นโรคไตควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีสีเหลือง เพราะมีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ขนุน ไปเลยยิ่งดีนะคะ

ซึ่งทริปประจำคลิปในวันนี้ คือ การจำกัดปริมาณการกินผลไม้ สำหรับใครที่เป็นเบาหวาน

" 1 กำมือ หยิบผลไม้มาได้เท่าไร คือกินได้ปริมาณเท่านั้น ถ้าลองหยิบองุ่นที่ลูกไม่ใหญ่นัก 1 กำมือ จะหยิบได้ประมาณ 4-5 ลูก , มะม่วงสุกประมาณครึ่งลูก "

ผู้ที่จะมาชวนค้นหาเมนูขนมหวานที่โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด  รวมถึงโรคไต สามารถทานได้  คือ คุณเอิ้ก
และอาจารย์หมอทั้ง 3 ท่านนี้

เค็ม หวาน บาดใจ_แนะนำหมอ

  • รศ. นพ. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม อาจารย์ประจำหน่วยโรคไต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • รศ. พญ. อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ศ. พญ. นิธิมา รัตนสิทธิ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช
     

เค็ม หวาน บาดใจ  #กินคาวไม่กินหวานจะผิดไหม?

เนื้อหาจากรายการ เค็ม หวาน บาดใจ #กินคาวไม่กินหวานจะผิดไหม?

  • คนไทยมักถูกสอนว่า “กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่” คำนี้มันมีที่มาอย่างไรค่ะอาจารย์ ? : เวลา 1.40
  • ถ้าโรคต่าง ๆ มันอาการหนักแล้ว มันมีวิธีลดหรือกินนิดๆ หน่อยๆ อย่างไรได้บ้างมั้ยคะ ? : เวลา 2.32
  • โรคไต มีวิธีเลือกของหวานที่ใส่กะทิ อย่างไรบ้าง : เวลา 3.38
  • คำแนะนำในการเลือกเมนูของหวาน หรือ พวกผลไม้ สำหรับโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคไต : เวลา 4.58
  • จริงหรือไม่ กินของหวานไปเถอะ จะกลัวทำไม กินแล้วกินยาตามไป มันช่วยแก้อาการกันได้ ? : เวลา 6.29
  • เทคนิคการเลือกอาหารหวาน : เวลา 8.20

เมนูของหวานแม้จะดูอันตรายหนักสำหรับใครที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด  รวมถึงโรคไต  แต่ถ้าเราควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ที่เหมาะสม การเลือกกินเมนูของหวานก็ยังพออนุโลมได้ แต่ก็ยังต้องกินในปริมาณที่พอเหมาะพอควรอยู่นะคะ

สำหรับของหวานที่ควรเลี่ยงให้ไกลเลย คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เพราะเมนูเหล่านี้มีความหวาน และมีไข่แดงที่มีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งเป็นอันตรายทั้งโรคเบาหวานและโรคไต

อย่าลืมนะคะว่ายิ่งเราเข้าใจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ดีเท่าไร เราก็จะสามารถดูแลกันได้ดีมากขึ้นเท่านั้น เบาหวานไม่เบาใจ เรียนรู้และเข้าใจไปด้วยกันค่ะ

คลิกชมคลิปรายการ เค็ม หวาน บาดใจ  ตอน "แกว่งนิ้วหามื้อเที่ยง"

เค็มหวานบาดใจ_เมนูคาว

 

 

 

 

 

 


อ่านเนื้อหาดี ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อได้ที่

ตอบหน่อยค่อยจาก

เพราะเหตุใดที่ผู้ป่วยเบาหวานและโรคไต ไม่ควรกินทองหยอด ?

ผู้สนับสนุนโครงการ