ชวนหมอเม้าส์ เรื่อง "ภาวะหัวใจล้มเหลว"

การดูแลผู้ป่วย

ชวนหมอเม้าส์ ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)

บ่อยแค่ไหนแล้วที่ผู้ป่วยเบาหวานได้ยิน ได้ฟัง เรื่องนี้จากแพทย์ผู้ดูแล

 

นั่นเพราะอาการนี้มีที่มาจาก ความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย และรับเลือดกลับเข้าหัวใจได้ตามปกติจนมีอาการให้เห็น ดังนี้

  1. เหนื่อย
  2. อ่อนเพลีย
  3. บวม

 

ทั้ง 3 อาการจะเกิดขึ้นเมื่อไร ทำไมถึงเกิดขึ้นได้ และคำตอบอื่น ๆ ที่ดูแล้วทั้งขำ ทั้งอมยิ้ม แถมได้ความรู้อีกมากมายเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลว อยู่ในรายการ "ชวนหมอเม้าส์" นี้แล้ว

พิธีกรคนสวย ผู้ที่จะมาชวนเมาท์ให้ครึกครื่นในเทปนี้ คือ คุณเอิ้ก

โดยมี อาจารย์ นพ. เพชร รอดอารีย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม

FYS - นพ. เพชร รอดอารีย์

และ อาจารย์ นพ. เอกราช อริยชัยพาณิชย์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ เป็นผู้ให้คำตอบค่ะ

FYS-นพ. เอกราช อริยชัยพาณิชย์

 

รายการ ชวนหมอเม้าส์ เรื่อง "ภาวะหัวใจล้มเหลว"

เนื้อหาจากรายการ ชวนหมอเม้าส์ เรื่อง "ภาวะหัวใจล้มเหลว"

  • ครอบครัวไม่มีประวัติเป็นเบาหวานเลย เป็นคนผอม ๆ ชอบรสกินหวานหรือของหวาน : เวลา 0.37
  • เสี่ยงเป็นเบาหวานได้หรือไม่ ? : เวลา 1.17
  • โรคเบาหวานกับภาวะหัวใจล้มเหลว : เวลา 5.12
  • ผู้ป่วยเบาหวานจะรู้ตัวเองได้อย่างไรคะว่าเสี่ยงที่จะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว สั่งเกตอะไรได้บ้าง ? : เวลา 6.53
  • อาการไหลตาย" ที่ชาวบ้านเรียก ๆ กันเนี่ย มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ และเกี่ยวกันอย่างไร ? : เวลา 8.00
  • คนที่รู้ว่าตัวว่าเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ? : เวลา 8.55
  • เกมส์ “True or False” จริงหรือหลอก ? : เวลา 11.11

 

ดูจบอย่าลืมลองมาเช็คอัปตัวเองหรือคนรักสักนิด เกี่ยวกับภาวะการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้นะคะ โดยลองสังเกตุ จากสิ่งเหล่านี้

 

  1. สังเกตอาการของตนเอง หากน้ำหนักเพิ่มรู้สึกผิวหนังตึง ข้อเท้าบวม รองเท้าหรือเสื้อผ้าคับ  ไอบ่อยขึ้น รู้สึกเพลีย และทำกิจวัตรประจำวันได้ช้าลงอาจซึ่งนี่เป็นอาการเริ่มแรกของภาวะหัวใจล้มเหลว ควรรีบมาพบแพทย์
  2. ป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจ เพราะโรคหัวใจบางอย่างสามารถป้องกันได้ เช่น โรคหัวใจรูห์มาติก
  3. โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ โดยการนอนพักในช่วงกลางวันอย่างสม่ำเสมอ ลดชั่วโมงการทำงานให้สั้นลง
  5. หลีกเลี่ยงการทำให้อารมณ์เสียหรือความเครียด
  6. จำกัดกิจกรรมต่างๆลง ไม่ทำงานที่ออกแรงมาก ๆ อย่างหักโหม
  7. จำกัดอาหารเค็ม จำกัดน้ำดื่ม และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  8. มาพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างสม่ำเสมอ

 

โรคเบาหวานเป็นประตูหน้าด่านที่คอยชักนำโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ให้เข้ามาสู่ร่างกาย เพราะฉะนั้นเราต้องคอยหมั่นดูแลระดับน้ำตาลให้อยู่ที่ระดับน้อยกว่า 126 มก./ดล. ซึ่งเป็นค่าของน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หรือ ตรวจวัดโดยไม่ได้อดอาหารก่อน ระดับน้ำตาลควรให้อยู่น้อยกว่า 200 มก./ดล. จะเป็นการดีมาก ๆ

#เบาหวานไม่เบาใจ เรียนรู้และเข้าใจไปด้วยกันค่ะ

 


อ่านเนื้อหาดี ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อได้ที่

ตอบหน่อยค่อยจาก

น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 2 กก. ภายใน 2 วัน ถือเป็นสัญญานของภาวะหัวใจล้มเหลว ?

ผู้สนับสนุนโครงการ