เค็ม หวาน บาดใจ ตอน "แกว่งนิ้วหามื้อเที่ยง"

การดูแลผู้ป่วย

เค็มหวานบาดใจ_เมนูคาว ปก

โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคไต รุมเร้า

... แล้วเราจะทานอะไรดี ?

 

ไม่ว่าจะคนเจนไหนปัญหาโลกแตกอย่าง "มื้อนี้กินไรดี" ก็วนลูป กลับมาให้ปวดหัวได้ทุกวัน ยิ่งในยุค New Normal ที่แกว่งนิ้วสั่งอาหารผ่านแอฟซึ่งดูเหมือนจะง่ายแต่ก็ยังเลือกไม่ได้อยู่ดี

แล้วลองคิดดูนะว่าคนปกติยังคิดเมนูยากขนาดนี้ คนที่ต้องควบคุมอาหารตั้งแต่ หวาน มัน เค็ม ล่ะจะเลือกกิน(ของคาว) อะไรดี เพราะ เรื่องของการกินเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อถูกโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคไต รุมเร้า

เราจะสั่งเมนูอะไรในแอปสั่งอาหารมาทานในตอนเที่ยง หรือตอนค่ำดี รายการ เค็ม หวาน บาดใจ #แกว่งนิ้วหามื้อเที่ยง มีมาบอกค่ะ

การรับเอาน้ำตาลเข้าไปในปริมาณมากจะทำให้อาการเบาหวานกำเริบขึ้นและแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด คนเป็นเบาหวานทุกคนต้องควบคุมระดับน้ำตาล และไขมันให้อยู่ในระดับปกติ เพราะแบบนี้แหละถึงต้องระวังเรื่องการกินให้มากที่สุด ถ้ากินอาหารที่มีน้ำตาลสูงมากเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้

อาหารสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากอาหารที่คนอื่นรับประทานกันในครอบครัว เพียงแต่ผู้เป็นโรคเบาหวานต้องคิดถึงถึงปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่ได้รับโดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล แป้งและไขมัน ซึ่งอาหารพวกนี้จะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด

สำหรับใครที่อ้วนและตรวจพบว่าตัวเองมีระดับไขมันในเลือดสูง สิ่งที่ควรเลี่ยงเป็นอย่างมาก คือ อาหารที่มีโคเลสเตอรอล อย่างพวกเครื่องในสัตว์ เนื้อติดมัน หนังเป็ด-ไก่ ไข่แดง รวมทั้งอาหารใส่กะทิ และเลี่ยงอาหารทอดและผัดที่มีน้ำมันมาก

ถ้าเลือกได้ การกินอาหารพวกเนื้อไม่ติดมัน ปลา เต้าหู้ ก็จะยิ่งดีงาม และถ้าทำด้วยวิธีการนึ่ง ต้ม ปิ้ง หรือย่าง ก็ยิ่งดีเยี่ยม หมั่นรับประทานผักสีเขียวให้มากขึ้น เลือกผลไม้ที่มีรสหวานน้อย แทนขนมหวาน และเลี่ยงผลไม้ที่มีแต่รสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ลำไย ขนุน น้อยหน่า ฯลฯ 

ผู้ที่จะมาชวนค้นหามื้อเที่ยงที่โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด  รวมถึงโรคไต สามารถทานได้  คือ คุณเอิ้ก
และอาจารย์หมอทั้ง 3 ท่านนี้

เค็ม หวาน บาดใจ_คุณหมอ

  • รศ. นพ. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม อาจารย์ประจำหน่วยโรคไต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • รศ. พญ. อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ศ. พญ. นิธิมา รัตนสิทธิ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช
     

เค็ม หวาน บาดใจ  #แกว่งนิ้วหามื้อเที่ยง

เนื้อหาจากรายการ เค็ม หวาน บาดใจ #แกว่งนิ้วหามื้อเที่ยง

  • โรคเบาหวาน กับ โรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดขึ้นได้อย่างไร : เวลา 1.59
  • การกิน ที่ไม่ใส่ใจสุขภาพ นำไปสู่การเป็น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด  : เวลา 2.33
  • โรคอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงมาจากการกินอาหาร มีอะไรอีกบ้าง  : เวลา 2.54
  • อาการไหนบ้าง ที่บ่งบอกว่าร่างกายหนักแล้ว รับไม่ไหวแล้ว ควรเพลา ๆ อาหารที่มีรสหวาน มัน และเค็ม  : เวลา 3.32
  • เครื่องปรุงที่ต้องระวัง สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน  โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต  : เวลา 4.25
  • เมนูอาหารคาวใกล้ตัวที่โรคเบาหวาน  โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต ต้องระวัง :  เวลา 5.08
  • ผู้ป่วยเบาหวานจะรู้ตัวเองได้อย่างไรคะว่าเสี่ยงที่จะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว สังเกตอะไรได้บ้าง ? : เวลา 6.53
  • เทคนิคการเลือกอาหารคาว ในมื้อเที่ยง : เวลา 7.13

 

เค็มหวานบาดใจ_เมนูคาว_01


พอจะเห็นแนวทางในการสั่งอาหารมาทานกันบ้างหรือยังคะ คนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคไต รุมเร้า ก็สามารถแกว่งนิ้วหามื้อเที่ยง ในแอปสั่งอาหารได้ไม่ยากเลย

อย่าลืมนะคะว่ายิ่งเราเข้าใจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ดีเท่าไร เราก็จะสามารถดูแลกันได้ดีมากขึ้นเท่านั้น เบาหวานไม่เบาใจ เรียนรู้และเข้าใจไปด้วยกันค่ะ

คลิกชมคลิปรายการ เค็ม หวาน บาดใจ  ตอน "กินคาวไม่กินหวานจะผิดไหม?"

เค็มหวานบอดใจ_เมนูคาว

 

 

 

 

 

 


อ่านเนื้อหาดี ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อได้ที่

ตอบหน่อยค่อยจาก

เส้นก๋วยเตี๋ยวแบบใด ที่ให้พลังงานน้อย เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ?

ผู้สนับสนุนโครงการ